วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของวิชาชีพครู



ความสำคัญของวิชาชีพครู
                ครู อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคม ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอ ความหมายของคำว่าครู                
       คำว่าครูมีความหมายลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก แต่ถ้าดูจากรากศัพท์ ภาษาบาลีว่าครุหรือ ภาษาสันสกฤตว่าคุรุนั้น มีความหมายว่าผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ควรได้รับการเคารพได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่าครูไว้หลายประการ เช่นครูคือ ผู้ทำหน้าที่สอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์เกิดความรู้ ความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้น ๆ ยนต์ ชุ่มจิต (2541: 29) ได้อธิบายคำว่าครูดังนี้ 1. ครู เป็นผู้นำทางศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง 2.ครู คือ ผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่น ควรแก่การเคารพของลูกศิษย์
3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา

นอกจากนี้ คำว่า “ครูยังมีความหมายอื่น ๆ ได้อีก เช่น
                1. “ครู คือ ปูชนียบุคคลหมายถึง ครูที่เสียสละ เอาใจใส่เพื่อความเจริญของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน
                2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู
                3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้างหมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยอย่าหวั่นไหวต่อลาภยศความ สะดวกสบาย
  โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ และมี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี นำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในอนาคต
ความสำคัญของวิชาชีพครู                
        ทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งนั้น เป็นการยากที่ จะบ่งบอกว่า อาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูว่ามีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.. 2526 ความตอนหนึ่งว่า  “.....อาชีพครูถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้านจึงสามารถ ช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้......” จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ

หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย
3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย
8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนานอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จ มีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ ท่องบ่น ตอนก่อนเพล เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่น พระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ 2 โมงพระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใด คนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อ
ช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้......”
                จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ



สรุป       
      อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้น ยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า ผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมือง หากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่อง ผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมืองความสำคัญของวิชาชีพครูนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญต่อประเทศชาติบ้านเมืองต่อคนในสังคมจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทของสมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงตะหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพครู
         "...หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพื่อที่จะได้เติบโต ขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง..."และอีกตอนหนึ่งเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่18 พฤษภาคม พ.ศ.2526 ความตอนหนึ่งว่า
      "...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..."
     พระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ดังกล่าว สามารถสรุปความได้ว่า ผู้ที่เป็นครูนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกความคิดและจิตใจและพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญในทุกๆด้าน เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป
     พระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ตามที่ได้อัญเชิญมานี้ เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่เป็นครูที่มีต่อความเจริญของบุคคลและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะ "ชาติบ้านเมืองจะมีความเจริญมั่นคงอยู่ได้ ก็เพราะประชาชนในชาติได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี การพัฒนาคนจะดำเนินไปอย่างถูกต้องก็เพราะมีระบบการศึกษาที่ดี และระบบการศึกษาจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะมีครูที่มีคุณภาพ"


ความรู้สึกจากบทประพันธ์ของยนต์ ชุ่มจิต


บรรยายความรู้สึกจากบทประพันธ์ แก่นครู (ยนต์ ชุ่มจิต)

                จากบทประพันธ์เรื่องแก่นครู จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นครูที่ดี มีคุณธรรม เป็นที่น่ายกย่องในสังคมถ้าครูปฏิบัติได้แบบนี้ทั้งมาทำงานแต่เช้า ตั้งใจสั่งสอนศิษย์ ไม่ติดเหล้า ติดบุหรี่ ติดยาเสพติด ไม่ฟุ่งเฟ้อ นอกจากนั้นยังขยันหาความรู้ มีเมตตาและเป็นมิตรกับทุกคน   ถ้าครูทุกคนประพฤติตนได้แบบนี้สังคมในปัจจุบันคงดีขึ้นเพราะครูถือได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติ เป็นแบบอย่างถ้าครูประพฤติไม่ดีแล้วลูกศิษย์ก็จะเอาไปเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี และไม่เชื่อฟังต่อให้เราสอนดีอย่างไรก็ตาม


บรรยายความรู้สึกจากบทประพันธ์ เนื้อครู (ยนต์ ชุ่มจิต)

                จากบทประพันธ์เรื่องเนื้อครูจะเห็นได้ว่าครูประเภทนี้ก็มีส่วนดีอยู่มากเช่นกันเป็นครูที่มีคุณธรรมสูงกว่าประเภทเปลือกครู มีความรับผิดชอบหน้าที่การงานดีขึ้น กล่าวคือพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ แต่การสอนจะเน้นเฉพาะหลักสูตรเป็นสำคัญ  ทำการสอนตามหน้าที่ ตามกำหนดเวลา คือ สอนหนังสือตามหลักสูตร ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแต่จะไม่มีการเพิ่มเติม  เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ หรือสอดแทรกความรู้ใหม่ๆให้แก่เด็ก ครูประเภทนี้จะทำงานแค่ตามเวลาเท่านั้น มีหน้าที่สอนก็สอนอย่างเดียว พอหลังจากนั้นก็สนใจแต่เรื่องของตนเองชอบแต่งตัวตามแฟชั่น ไม่สนใจวัฒนธรรมไทย ถ้าสังคมไทยมีครูประเภทนี้อยู่มากก็ถือได้ว่าไม่ดีเหมือนกันเพราะถ้าเด็กนำไปเลียนแบบเด็กในสังคมก็จะเป็นคนที่ไม่ดี ไม่เคารพขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งถือได้ว่าไม่ควรอย่างยิ่งเพราะวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ดีควรอนุรักษ์ไว้ถ้าคนรุ่นหลังไม่รักษาไว้โดยที่ครูไม่เป็นแบบอย่างแล้วเด็กในสังคมก็จะไปหลงกับวัฒนธรรมต่างชาติหมด


บรรยายความรู้สึกจากบทประพันธ์เปลือกครู (ยนต์ ชุ่มจิต)

                เป็นครูที่ด้อยในด้านคุณธรรมของความเป็นครูอย่างยิ่งตัวอย่างพฤติกรรม  มาโรงเรียนสายเป็นประจำ งานไม่ทำเอาแต่คุย ทำงานชุ่ยตลอดเวลา  ชอบดุด่าเด็กไร้เหตุผล งานของตนทำไม่เป็น  เช้าจดเย็นกินแต่เหล้า ไม่สร่างเมาเข้าห้องสอน หนีไปนอนยามเมื่อเผลอ พูดเพ้อเจ้อกับศิษย์ดัดจริตเจรจา เจ้านายมาทำขยัน วันทั้งวันไม่อยู่กับที่ทำหย่อนยานเป็นพ่อพระ เอาชนะระราน ชอบซุกงานไว้ตลอดบ่นออดจู้จี้ เป็นหนี้เกินตัว ชอบมั่วแต่อบายมุขไม่ขวนขวายหาความรู้ อยู่เป้นครูไปวันๆ ถือได้ว่าเป็นลักษณะครูที่ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างอย่างยิ่งก็ว่าได้เพราะถือได้ว่าถ้าสังคมไทยมีครูประเภทนี้มากเกินไปสังคมและประทศชาติในอนาคตคงไม่ดีแน่นอนคนรุ่นหลังในสังคมคงเป็นคนที่ไม่ดีทั้งลักษณะนิสัยและเรื่องความรู้ที่จะนำไปใช้ในอนาคตคงไม่ดีอย่างแน่นอน